To Marx

....Karl Marx....
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้มีโอกาสสนทนากับเพื่อนร่วมหอพักชาวโปแลนด์อยู่ 2-3 ครั้ง โดยประเด็นหนึ่งขอการสนทนาคือเรื่องการปกครอง อย่างที่เราทราบว่าปัจจุบันนี้โปแลนด์ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบคอมมิวนิสต์มาเป็นประชาธิปไตยร่วม 15 ปีมาแล้ว แต่เพื่อนผมคนนี้เป็นคนหนึ่งที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นกับประเทศของตัวเอง
เธอเล่าว่า เมื่อก่อนนั้นทุกคนมีเงินให้จับจ่ายใช้สอยเนื่องจากไม่มีคนตกงาน และทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็น หมอในโรงพยาบาล ครู เกษตรกร เนื่องจากทุกคนมีงานทำในฐานะที่เป็นลูกจ้างของรัฐ เพราะรัฐเป็นเจ้าของทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ตลาด โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา ขนส่งมวลชน ฯลฯ แต่ปัญหาคือไม่มีอะไรให้เธอซื้อมาก เพราะทุกอย่างถูกผลิตออกมาเหมือนๆ กันหมด กระเป๋าแบบเดียวกัน รองเท้าก็ด้วย เนื่องจากคอมมิวนิสต์ไม่มีการแข่งขันจึงไม่มีเหตุผลอะไรให้รัฐทำของออกมาให้หลากหลายมากๆ ให้สิ้นเปลืองเพราะยังไงก็ขายได้อยู่ดี
แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะเท่ากันเป๊ะๆ ทุกคนนะครับ การเข้าถึงสินค้าเหล่านี้มีความเหลื่อมล้ำนิดหน่อย คือ คนที่เป็นกรรมกรในเหมืองและเกษตรกร รวมถึงทหารจะมีสิทธิในการซื้อสินค้าก่อน หรืออาจได้สิทธิในการซื้อเนื้อสัตว์มากกว่าคนอื่นๆ ตามหลักปรัชญาของคอมมิวนิสต์ที่ให้ความสำคัญต่อชนชั้นการผลิต (แรงงานนั่นเอง) สมสัญลักษณ์ "ค้อนเคียว" ที่ปลิวไสวบนธงสหภาพโซเวียตเมื่อในอดีต แต่ข้อเสียของคอมมิวนิสต์อย่างที่เรารู้ๆ ก็คือ มันไม่ก่อให้เกิดการแข่งขัน หมายความว่าคนทำมากทำน้อย ก็ไม่อดตาย หนำซ้ำยังได้เงินเท่าๆ กันอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะพวกเช้าชามเย็นชามจะเกาะกินระบบจนมันอยู่ไม่ได้อย่างที่ปัจจุบันนั้น ประเทศที่เป็นอดีตคอมมิวนิสต์ก็เปลี่ยนแปลงการปกครองจนเกือบหมดแล้ว อย่างไรก็ดีแนวคิดแบบสังคมนิยมก็ยังคงฝังรากลึกอยู่ในประเทศเหล่านี้ เพราะเพิ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ถึงแม้จะเกิดพรรคเสรีนิยมมากขึ้น แต่คนส่วนมากก็ยังคุ้นชินกับการได้รับการดูแลจากรัฐ
ที่อารัมภบทมานี้ก็เพราะโลกเรานั้นวิ่งไปมาระหว่างปลายสองข้างซ้ายขวา ไม่เคยพอดีซักทีและผมเชื่อว่าคงไม่มีวันด้วย มันคงวิ่งไปมาอยู่อย่างนี้ต่อไป เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงความพยายามของ อ. ใจ อึ๊งภากรณ์ ที่เรียกร้องให้เกิดพรรคสังคมนิยม (พรรคแรงงานหรือพรรคคอมมิวนิสต์ สุดแท้แต่จะเรียก) ผมเข้าใจว่า อ. ใจ ไม่ได้โหยหาการกลับมาของคอมมิวนิสต์แน่ๆ แต่ต้องการถ่วงดุลระบบที่เอียงกะเท่เร่อยู่นี้ เนื่องจากประเทศไทยไม่เคยมีพรรคการเมืองของมวลชน มีแต่พรรคกุฎมพีแล้วก็พรรคนายทุนมาโดยตลอด นี่เป็นเสียงของความพยายามหนึ่งที่เรียกร้องให้เกิดจุดดุลยภาพระหว่าง "ความเท่าเทียม" - "ประสิทธิภาพ" ให้เกิดขึ้นซักครั้ง
คอมมิวนิสต์นั้น (ตามทฤษฎ๊) จะเบ่งบานได้นั้นต้องลบทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ก่อนหน้าทิ้งทั้งหมด ทั้ง ค่านิยม ความทรงจำ เพราะมันคือการสร้างระบบความสัมพันธ์ของสังคมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด อย่างที่เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน เรื่องนี้ก็อย่างที่เรารู้ๆ ว่ามันไม่ได้ผล ผมเลยออกจะสงสัยอยู่ว่าการเกิดขึ้นของพรรคสังคมนิยมมันจะเกิดอย่างไร เพราะมันจะต้องเกิดขึ้นบนโครงสร้างของทุนนิยม ซึ่งผมไม่ค่อยเชื่อว่าถึงมันจะเกิดขึ้นมาได้จริง ท้ายสุดแล้วมันจะไม่กลายพันธ์ไปเป็นอย่างอื่น เพราะเบื้องหลังประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคมนั้นย่อมมีส่วนทำปฏิกิริยาต่อการก่อรูปของระบบใหม่ที่ใส่เข้าไป เรามีบทเรียนแล้วจาก คอมมิวนิสต์ของสตาลินที่นับว่าห่างไกลอยู่โขจากอุดมการณ์ของมาร์กซ์
อุดมการณ์นั้นฟังดูดีเสมอ แต่โดยส่วนตัวผมว่าวิธีนั้นน่าฟังกว่า ผมเห็นด้วยกับ อ. ใจ ว่าเราควรมี Milestone ทางสังคมที่พึงปรารถนาและการคิดถึงอะไรที่ดีกว่าที่เป็นอยู่นั่นย่อมประเสริฐแน่นอน แต่ผมคิดว่าการทำพรรคการเมืองใหม่นามมวลชนนั้นไม่ช่วยอะไร (คือมีก็ดีนะแต่ไม่พอ) เพราะมันต้องใช้ทั้งทุนและก็ยังเป็นระบบตัวแทนอยู่ ถ้าคิดถึงหนังเรื่อง The Metrix แล้วอาจจะช่วยทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่ามนุษย์ยากจะเอาชนะจักรกลได้เพราะต้องเล่นเกมส์บนกติกาของเขา ต้องรอ The One มาปลดปล่อย (ในโลกแห่งความจริงจะพบว่าหมอนี่มันก็เป็นพวกเดียวกับหุ่นยนต์แหละ อิอิ)
ผมชอบแนวคิดการเมืองนอกรัฐมากกว่า เพราะมันสร้างพื้นที่ใหม่นอกอำนาจรัฐและพรรคการเมือง ผมไม่คิดว่าเรื่องการเมืองเป็นเรื่องกระดานหมากฮอสที่เรามีพื้นที่จำกัดและการได้มาของพื้นที่ของเราหมายถึงการลดลงของพื้นที่รัฐ แต่ถ้าเราขยายพื้นที่กระดานได้มากขึ้น เราก็จะพบว่าบางทีรัฐนั้นเหลือพื้นที่น้อยกว่าเราหรืออาจเปลี่ยนกติกาอะไรบางอย่างได้ก็เป็นได้
ผมว่าถ้าคุณได้โปรแกรมในอุดมคติมาซักอัน แล้วมันรันไม่ได้บน windows แล้วละก็
คุณชอบอย่างไหนกว่ากัน ระหว่างที่จะต้องแก้โปรแกรมให้ใช้ได้บน windows หรือเขียน OS ใหม่ให้โปรแกรมใช้งานได้ดี
9 Comments:
คำถามสุดท้ายผมคงตอบว่า ผมใช้ OpenSource สบายใจ ปลอดภัย ไม่เสียเงิน
นานๆครั้งถึงได้อ่านบทความคนไทยเขียนเรื่องคอมมิวนิสต์ เพราะในความรู้สึกของคนไทยโดยทั่วไปจะขยาดกลัวระบอบการปกครองนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลง เพราะเป็นความต้องการของผู้นำไทยสมัยโบราณ ดูเหมือนว่ามันได้ผลมาถึงทุกวันนี้ ผมเคยรู้สึกว่าระบอบคอมมิวนิสต์(รวมถึงสังคมนิยมด้วย)เป็นตัวแทนของความเลวร้ายน่ากลัว จนกระทั่งมาอยู่เยอรมัน แม้ผมมีความรู้เกี่ยวกับคอมมิวนิสต์แค่ผิวเผิน แต่ก็พอที่จะทำให้ผมรู้ว่า ระบอบไม่เลวร้าย แต่คนที่ใช้มันเป็นเครื่องมือในทางที่ผิดต่างหาก ที่เลวมหากาฬ ซึ่งความจริงนี้เป็นกับทุกระบอบ...
ผมชอบสังคมนิยมประชาธิปไตย มากกว่า คอมมิวนิสต์ เสรีนิยม หรือทุนนิยมประชาธิปไตย (ช่วงเลือกตั้งที่เยอรมันเมื่ออาทิตย์ก่อน หากผมมีสิทธิ์ใช้สิทธิ์คงไม่รีรอที่จะเลือก SPD ไม่ได้ชักจูงและคงไม่ผิดหลัก เพราะอย่างไรเสียผมก็ไม่มีสิทธิ์) เพราะเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้คนแข่งขัน แต่ลดช่องว่างสำหรับคนที่ต้องการเอาเปรียบ ยิ่งใส่เรื่องสิ่งแวดล้อมและสันติวิธีเข้าไปในนโยบาย ยิ่งเจ๋งใหญ่ ใครก็ได้ช่วยก็ตั้ง SPD ที่ประเทศไทยที
แต่มาคิดดูอีกที ระบอบไหนในประเทศไทยก็เหมือนกัน เรายังขาดวุฒิภาวะในการเลือกคผู้แทนอยู่ นักการเมืองขี้โกงยังลอยหน้าลอยตาเต็มบ้านเต็มเมือง ความผิดส่วนใหญ่มาจากเราผู้เลือก
ผมชอบ คอมมิวฯ ครึ่งหนึ่ง คือ การมองความรุนแรงเชิงโครงสร้างได้ทะลุปุโปร่ง ยิ่งปัจจุบัน ความรุนแรงดังกล่าวขยายผลไปมาก เพราะอิทธิพลของอภิมหาเศรษฐี
กลุ่มไซออน ในMegaบรรษัท ทั้งหลาย บรรษัทบางแห่งมีทุนหมุนเวียนมากกว่า ประเทศสี่ห้าประเทศรวมกัน
คนหนึ่งคนใช้ทรัพยากร เท่ากับ คนเป็นล้าน คำเรียกชายขอบ สำหรับคนส่วนใหญ่จึงต้องตรงยิ่ง
ครึ่งหนึ่งที่ไม่ชอบ คือวิธีการ ในที่นี้ หมายเฉพาะ เลนิน สตาลิน และเหมาเจ๋อตุง วิธีการในการปฏิบัติค่อนข้างรุนแรง เช่น ในโซเวียต สตาลิน ฆ่าคนรัสเซียไปสิบห้าล้าน เหมา กวาดล้างผู้คนในการปฏิวัติวัฒนธรรมหลายล้าน นโยบายเศรษฐกิจของเหมาล้มเหลว เช่น กรณีให้ประชาชนทั่วประเทศผลิตเหล็ก โดยไม่ได้คุณภาพ ทำให้เกิดปัญหาทุพภิกขภัยตามมา ในตอนท้ายของชีวิตเหมาบ้ากามเอามากๆ
แต่นั่นอาจเป็นเพราะ อุดมการณ์สูงส่งแต่เมื่อมาสังวาสกับความคิดมนุษย์แล้วจึงบูดเบี้ยว
แต่อย่างไรเสีย มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการคิด เชื่อ จะขวา ซ้าย มันก็เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา
ในทางเศรษฐกิจ เดี๋ยว อาดัม สมิธ เดี๋ยว เคน
ในทางการเมือง เดี๋ยวก็ รุสโซ เดี๋ยวก็มาร์ก
ในทางวัฒนธรรม เดี๋ยวก็ ชาตินิยม เอกนิยม เดี๋ยวก็ โรแมนติก โพสโมเดิน
จะเลือกทางไหน ขอให้สันติไว้ก่อน
หากบ้าวิธีการ แล้วไม่สันติก็จบครับ เพราะจุดหมายของสังคม คือภราดรภาพคงเกิดขึ้นไม่ได้
ดังนั้น ต้องมองเป้าหมายให้ชัด วิธีการนำไปสู่เป้าหมาย ได้หรือไม่ ในตัววิธีการต้องไม่เป็นปฏิปักษ์กับเป้าหมายด้วย สำหรับผม เป้าหมาย คือสันติประชาธรรม เมตตาธรรม สันติธรรม ขอรับ วิธีการ ระบอบ ระบบ ควรรับใช้สิ่งเหล่านี้ และไม่ย้อนกลับมำลายอุดมการณ์ด้วยขอรับ
เอ... เท่าที่ผมทราบ เหมือนว่า K. Marx จะพูดประโยคนั้นในบริบทที่กล่าวถึงงานเขียนที่อ้างตัวว่าเป็นงานแนว Marxist แต่ K. Marx กลับมีความเห็นว่าไม่มีความคงเส้นคงวากับแนวคิด Marxist ของตัวเอง
ในความเข้าใจของผม K.Marx เองคงไม่ได้หมายความตรงตัวตามคำพูดดังกล่าวหรอกครับ เราอาจต้องเข้าใจบริบทแวดล้อมคำพูดที่ยกมาอ้างด้วยเช่นกัน
ตามอ่าน blog ของคุณณัฐวุฒิอยู่เสมอนะครับ ชอบครับชอบ
หวัดดีคุณ pin poramet
น่าจะเป็นอย่างที่คุณว่าละครับ (อย่างที่มาร์กซ์ว่าด้วย) เพราะมาร์กซิสต์นั้นแปรเปลี่ยนไปตามคนตีความ และสำหรับผมแล้วมันศูนย์เสียความเป็นต้นตำหรับไปแล้ว จนออกลูกออกหลานทางความคิดมาเป็นชุดๆ
ผมตามไปอ่านที่บล็อคคุณด้วยเหมือนกันครับ
ฮาโหลๆๆ พี่ม้าก เป็นไงมั่ง...
เฮ้ย เขียนต่อซะทีดิม๊าก
Hi Pmark,
Waiting to read more articles from you too na.
ขึ้นต้นการเมือง... ลงท้ายคอมพิวเตอร์
เป็นสองหัวข้อที่ไม่ค่อยโปรดเท่าไหร่ค่ะ
ขออ่านเฉยๆ ละกันนะคะ ^_^
Great blog I enjoyed readding
Post a Comment
<< Home