Everything goes
ในการสัมมนาโต๊ะกลมของ Institute ผมเองครั้งที่ผ่านมานั้น เพื่อนชาวเยอรมันคนหนึ่งได้เสนอหัวข้อวิจัยว่าด้วยเรื่อง Landscape planning ในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยผสานแนวคิดเรื่อง "Everything goes" เข้ากับ Resource planning เพื่อหาจุดพอดีในการรังสรรค์สภาพแวดล้อมแบบที่ฝรั่งเรียกว่า win-win scenario ที่ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ใครที่ยังไม่ทราบว่า Everything goes คืออะไรเดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟัง
ในประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น หากพูดถึงองค์ความรู้ด้าน planning แล้วอาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบของการศึกษาด้านนี้ และมีกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จออกมาเรื่อยๆ หรือเรียกว่าเป็นกระบี่มือหนึ่งทั้งทั่วยุโรป รวมทั้งข้ามไปในสหรัฐอเมริกาด้วย เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เป็นประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล กอรปกับมีพื้นที่ประเทศไม่ใหญ่มากนัก ทำให้ประเทศนี้ต้องต่อสู้ทั้งกับเงื่อนไขทางธรรมชาติและทรัพยากรที่จำกัด โดยผมเพิ่งได้ทราบว่าประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นไม่มี Natural environment ที่เกิดเองตามธรรมชาติหลงเหลืออยู่อีกแล้ว (อันที่จริงในเยอรมันเองก็มีน้อยมากๆแล้ว) กล่าวคือ Landscape environment ทั้งหมดของประเทศนี้เป็น Man-made environment ทั้งสิ้น (ไม่มีพื้นที่ป่าโดยธรรมชาติ ป่าที่มีก็ปลูกขึ้นทั้งหมด อีกทั้งแนวคิดเกี่ยวกับป่าไม้นั้นถูกมองเป็นเรื่องทรัพยากรล้วนๆ หรือพูดอีกอย่างคือปลูกป่าเพื่อตัดไม้ขาย)เพราะด้วยทรัพยากรที่มีจำกัดและปัญหาทางภูมิศาสตร์ ซึ่งถ้าไม่จัดการแล้วปล่อยให้อะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นตามยถากรรมแล้ว นั่นคงถึงขนาดต้องสิ้นชาติกันเลยทีเดียว
ทีนี้หนึ่งในกรณีศึกษาของเพื่อนผมนั้น เป็นพื้นที่ว่างเปล่าที่ถูกทิ้งร้างขนาดประมาณ 50 ตารางกิโลเมตรที่ตั้งอยู่ริมทะเล ที่เดิมรัฐบาลตั้งใจให้เกิดนิคมอุตสาหกรรม แต่ต้องพับโครงการไปเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจในประเทศเมื่อราวสามสิบปีที่แล้ว ทีนี้พื้นที่นี้เนี่ยเมื่อผ่านไปประมาณสิบปี ได้มีนักพฤกษศาสตร์พบว่าพืชพันธ์และสัตว์ต่างๆ ที่เกิดในพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก จนต่อมาได้มีการทดลองปล่อยน้ำทะเลเข้ามาแล้วสูบออก สลับกันไป (แบบนิเวศวิทยาป่าชายเลน) ซึ่งผลการทดลองพบว่าทำให้มีระดับความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่สูงปรี้ด
ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดามากๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาอยู่เองที่ของธรรมดาในวัฒนธรรมหนึ่งกลับเป็นของไม่ธรรมดาในอีกวัฒนธรรม อย่างที่การกินข้าวต้มโต้รุ่งนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาในบ้านเรา (ฝรั่งออกจะตกใจกับเรื่องนี้เล็กน้อย เพราะสองทุ่มก็ผีหลอกแล้ว) หรือการที่รถ Taxi ของที่นี่มี GPS (Geographic Positioning System) ติดรถแทบทุกคัน (ผมเห็นครั้งแรกก็ได้แต่อึ้ง) อย่างไรก็ดีเชื่อไหมว่าเรื่องนี้ถึงขนาดเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทาง planning ในเนเธอร์แลนด์ขนานใหญ่ เพราะคนรุ่นปัจจุบันของเนเธอร์แลนด์ไม่เคยมีใครมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ธรรมชาติสร้างมาจริงๆ เนื่องจากเพราะเนเธอร์แลนด์ผ่านประสบการณ์ที่สภาพแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องเข้าไปจัดการมาเป็นร้อยปีแล้ว คอนเซปท์ที่ธรรมชาติสร้างสภาพแวดล้อมด้วยตัวเองอย่างในกรณ๊ศึกษาของเพื่อนผมนั้น ฝรั่งเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "Everything goes" หรือแปลเป็นไทยแบบชาวบ้านว่า "อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดไป" ซึ่งในกรณีนี้นั้นคนเนเธอร์แลนด์พบว่าทำได้ดีกว่าเขามานั่งจัดการเอง จนปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ได้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองที่ผู้คนชื่นชอบมาก เพราะมันคือธรรมชาติแท้ๆ
แต่พื้นที่นี้ก็อาจจะต้องหายไปเนื่องจากมันไม่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และถ้าวันหนึ่งโครงการนิคมอุตสาหกรรมพร้อมเมื่อไหร่ก็บอกลาได้เลย เพราะการทิ้งที่ดินไว้เปล่าในประเทศที่ที่ดินมีอยู่น้อยนิดนั้นเป็นเรื่องรับไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง งานวิจัยของเพื่อนผมก็คือความพยายามหาทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้พื้นที่อันนี้ให้มันรับใช้ชาวเมืองต่อไปได้ โดยไม่ให้เสียทรัพยากรที่ดินไปเปล่าๆ คิดไปคิดมาฝรั่งมันก็น่าสงสารเหมือนกันนะ
โลกเรานี่มันชักจะกลับตาลปัตรซะแล้วครับ เพราะของที่ได้มาฟรีๆ อย่างงี้กลับมีราคาแพงอย่างน่าใจหาย ถ้าอีตา David Richardo ผู้ให้กำเนิดทฤษฎี Land economy แกรู้ว่าทฤษฎีแกสร้างโลกทัศน์การมองธรรมชาติ (โลก)แบบแบนแต๊ดแต๋อย่างงี้ก็ไม่รู้แกจะแฮปปี้มั้ย
ในประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น หากพูดถึงองค์ความรู้ด้าน planning แล้วอาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบของการศึกษาด้านนี้ และมีกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จออกมาเรื่อยๆ หรือเรียกว่าเป็นกระบี่มือหนึ่งทั้งทั่วยุโรป รวมทั้งข้ามไปในสหรัฐอเมริกาด้วย เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เป็นประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล กอรปกับมีพื้นที่ประเทศไม่ใหญ่มากนัก ทำให้ประเทศนี้ต้องต่อสู้ทั้งกับเงื่อนไขทางธรรมชาติและทรัพยากรที่จำกัด โดยผมเพิ่งได้ทราบว่าประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นไม่มี Natural environment ที่เกิดเองตามธรรมชาติหลงเหลืออยู่อีกแล้ว (อันที่จริงในเยอรมันเองก็มีน้อยมากๆแล้ว) กล่าวคือ Landscape environment ทั้งหมดของประเทศนี้เป็น Man-made environment ทั้งสิ้น (ไม่มีพื้นที่ป่าโดยธรรมชาติ ป่าที่มีก็ปลูกขึ้นทั้งหมด อีกทั้งแนวคิดเกี่ยวกับป่าไม้นั้นถูกมองเป็นเรื่องทรัพยากรล้วนๆ หรือพูดอีกอย่างคือปลูกป่าเพื่อตัดไม้ขาย)เพราะด้วยทรัพยากรที่มีจำกัดและปัญหาทางภูมิศาสตร์ ซึ่งถ้าไม่จัดการแล้วปล่อยให้อะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นตามยถากรรมแล้ว นั่นคงถึงขนาดต้องสิ้นชาติกันเลยทีเดียว
ทีนี้หนึ่งในกรณีศึกษาของเพื่อนผมนั้น เป็นพื้นที่ว่างเปล่าที่ถูกทิ้งร้างขนาดประมาณ 50 ตารางกิโลเมตรที่ตั้งอยู่ริมทะเล ที่เดิมรัฐบาลตั้งใจให้เกิดนิคมอุตสาหกรรม แต่ต้องพับโครงการไปเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจในประเทศเมื่อราวสามสิบปีที่แล้ว ทีนี้พื้นที่นี้เนี่ยเมื่อผ่านไปประมาณสิบปี ได้มีนักพฤกษศาสตร์พบว่าพืชพันธ์และสัตว์ต่างๆ ที่เกิดในพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก จนต่อมาได้มีการทดลองปล่อยน้ำทะเลเข้ามาแล้วสูบออก สลับกันไป (แบบนิเวศวิทยาป่าชายเลน) ซึ่งผลการทดลองพบว่าทำให้มีระดับความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่สูงปรี้ด
ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดามากๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาอยู่เองที่ของธรรมดาในวัฒนธรรมหนึ่งกลับเป็นของไม่ธรรมดาในอีกวัฒนธรรม อย่างที่การกินข้าวต้มโต้รุ่งนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาในบ้านเรา (ฝรั่งออกจะตกใจกับเรื่องนี้เล็กน้อย เพราะสองทุ่มก็ผีหลอกแล้ว) หรือการที่รถ Taxi ของที่นี่มี GPS (Geographic Positioning System) ติดรถแทบทุกคัน (ผมเห็นครั้งแรกก็ได้แต่อึ้ง) อย่างไรก็ดีเชื่อไหมว่าเรื่องนี้ถึงขนาดเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทาง planning ในเนเธอร์แลนด์ขนานใหญ่ เพราะคนรุ่นปัจจุบันของเนเธอร์แลนด์ไม่เคยมีใครมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ธรรมชาติสร้างมาจริงๆ เนื่องจากเพราะเนเธอร์แลนด์ผ่านประสบการณ์ที่สภาพแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องเข้าไปจัดการมาเป็นร้อยปีแล้ว คอนเซปท์ที่ธรรมชาติสร้างสภาพแวดล้อมด้วยตัวเองอย่างในกรณ๊ศึกษาของเพื่อนผมนั้น ฝรั่งเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "Everything goes" หรือแปลเป็นไทยแบบชาวบ้านว่า "อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดไป" ซึ่งในกรณีนี้นั้นคนเนเธอร์แลนด์พบว่าทำได้ดีกว่าเขามานั่งจัดการเอง จนปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ได้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองที่ผู้คนชื่นชอบมาก เพราะมันคือธรรมชาติแท้ๆ
แต่พื้นที่นี้ก็อาจจะต้องหายไปเนื่องจากมันไม่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และถ้าวันหนึ่งโครงการนิคมอุตสาหกรรมพร้อมเมื่อไหร่ก็บอกลาได้เลย เพราะการทิ้งที่ดินไว้เปล่าในประเทศที่ที่ดินมีอยู่น้อยนิดนั้นเป็นเรื่องรับไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง งานวิจัยของเพื่อนผมก็คือความพยายามหาทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้พื้นที่อันนี้ให้มันรับใช้ชาวเมืองต่อไปได้ โดยไม่ให้เสียทรัพยากรที่ดินไปเปล่าๆ คิดไปคิดมาฝรั่งมันก็น่าสงสารเหมือนกันนะ
โลกเรานี่มันชักจะกลับตาลปัตรซะแล้วครับ เพราะของที่ได้มาฟรีๆ อย่างงี้กลับมีราคาแพงอย่างน่าใจหาย ถ้าอีตา David Richardo ผู้ให้กำเนิดทฤษฎี Land economy แกรู้ว่าทฤษฎีแกสร้างโลกทัศน์การมองธรรมชาติ (โลก)แบบแบนแต๊ดแต๋อย่างงี้ก็ไม่รู้แกจะแฮปปี้มั้ย
4 Comments:
กูคิดเวลาซื้อผักที่ซุปเปอร์มาเกตที่นี่อ่ะ
ถ้าอยากกินผักธรรมดาที่ไม่ใส่สารพิษต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ถ้าไม่มีตังค์ ก็จงเอาผักอันตรายไปกินซะเถอะเจ้าพวกคนธรรมดา
ทั้งที่ผักธรรมดา มันธรรมดาไม่ไช่เหรอว่ะ ทำไมกูต้องจ่ายกว่าแพงว่ะ
มันเป็นเรื่องคล้ายๆ The lost of originality อ่ะมั้ง
Has your friend finished his project? How is he going to add value to the land?
No, not finised yet
I think she will face some difficulties. However she tries to promote it as botanic garden as well as reserch lab for zoology and plants.
Post a Comment
<< Home