การทบทวนวรรณกรรมที่ไร้ความหมาย
ผมเพิ่งมาสำนึกว่าหนึ่งในการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งของผมคือการตัดสินใจเดินทางมาที่นี่ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่าทำไม
เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมต้องพรีเซนท์งานวิจัยทั้งหมดที่ผมทำระหว่างอยู่ที่นี่ ให้กับเพื่อนร่วม Institute และ Professor ก่อนกลับเมืองไทยเพื่อไปทำข้อมูลภาคสนามต่อ ในรอบปีนี้เรียกได้ว่าผมอ่านหนังสือวิชาการมากที่สุดในชีวิต เพราะเฉพาะรายชื่อหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงทำบรรณานุกรมมันก็ปาเข้าไปตั้งสิบกว่าหน้าหรือเรียกว่าทั้งหนังสือและบทความในวารสารวิชาการก็ 200กว่าเล่มแล้ว ทำให้ก่อนพรีเซนท์ผมมั่นใจพอสมควรว่าผมทำการบ้านครอบคลุมเนื้อหางานวิจัยในระดับหนึ่ง
งานวิจัยผมเป็นเรื่องการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน ซึ่งแนวทางนั้นมีทั้งทฤษฎีที่ใช้ชุมชนเป็นฐานและจัดการกันเอง หรือเรียกว่า Self-governance (ในทำนองเดียวกันกับที่ชุมชนจัดการทรัพยากรท้องถิ่นด้วยตัวเอง อย่างกรณีของป่าชุมชน)จนกระทั่งถึงวิธีการที่จัดการโดยรัฐทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การปฏิรูประบบราชการท้องถิ่น (New Public Management) ความร่วมมือระหว่างรัฐและชุมชน (Co-governance) จนถึงการแปรรูปบริการภาครัฐ (Privatization) โดยที่ผมก็ยังไม่รู้ว่าวิธีไหนจะเหมาะสมที่สุด และคิดว่าเดี๋ยวคงพอจะชัดเจนขึ้นหลังการเก็บข้อมูลภาคสนาม
แต่แล้ว Professor ก็โยนวิธีวิจัยที่ผมเองเคยนึกไว้อยู่แล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าต้องทำหรือเปล่าเพราะมันแพง นั่นคือการทำ pilot project โดยแกบอกว่าน่าจะทำเรื่องขยะก่อน แกบอกผมว่าปัญหาคือไม่ต้องมาบอกว่าโลกนี้เค้ามีแนวทางอะไรบ้างในการจัดการเรื่องนี้ แต่โดยเงี่อนไขพื้นที่เรา (มึง) ทำอะไรได้บ้าง คือวันนั้นมาเป็นชุดมาก ผมได้แต่นั่งมึน ไม่ได้โต้ตอบอะไรมากในใจก็นึกว่าขัดแย้งกับแกว่า เอ มันยังไม่รู้เลยว่าชุมชนมีความสามารถจัดการได้หรือเปล่า มันอาจจะไม่เวิร์คแล้วต้องแปรรูปก็ได้ ทำไมแกถึงฟันธงให้ทำ pilot project แล้วถ้ามันล้มเหลวไม่เสียเงินเปล่าเหรอ ในใจตอนนั้นผมคิดว่ามันไม่น่าฟันธงลงไปเลย แต่ควรหาทางเลือกให้มากที่สุดมากกว่า ผมถึงก้มหน้าก้มตาค้นคว้าหาว่าอะไรเหมาะในเงื่อนไขอะไรบ้าง
กลับมาบ้านผมมานั่งคิดอยู่สามวันถึงเข้าใจว่า ต่อให้ผมอ่านทฤษฎีหรือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมากแค่ไหน หรือไปเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าอะไรดีกว่ากันมันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเท่าไหร่ เพราะมันไม่รู้มีทางว่าอะไรดีกว่าอยู่แล้ว แทนที่จะมานั่งวิเคราะห์ว่าอะไรดีกว่า เพราะสุดท้ายมันก็เป็นทางเลือกที่"เลือกไม่ได้จริงๆ" หมายความว่ามันลอยๆ ไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งนั้น ประเด็นมันจึงอยู่ที่อะไรทำได้หรือมีแนวโน้มว่าทำได้มากกว่า แกถึงโยน pilot project มากลางวง แล้วงานวิจัยผมก็กลายเป็น Action research ในบัดดล ตามชื่อ Institute ว่า Empirical research in planning issues ที่โคตรจะเป็นวิทยาศาสตร์ คือเมิงต้องใส่ Input เข้าไปนะถึงจะได้ Output ออกมา ไอ้ที่เมิงวิเคราะห์เนี่ยมันใช้แต่ Rational ทั้งนั้น
หรือแปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆว่า ถ้างานวิจัยผมคือการทำอาหารจานหนึ่งแล้วละก็ ผมกำลังเลือกอยู่ว่าจะทำก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวผัดดีถึงจะได้คุณค่าทางโภชนาการสูงสุด แล้วอยู่ๆ professor ก็มาสะกิดบอกว่า" เมิงมีวัตถุดิบอะไรบ้างเมิงก็ทำอันนั้นแหละ ถ้าข้าวผัดดีกว่าแล้วยังไง ถ้าเมิงไม่มีข้าวสาร อย่างนี้ไม่ต้องไปปลูกข้าวก่อนหรือไงวะ"
คิดได้เช่นนี้ ผมก็ตบเข่าตัวเองฉาดนึง "แล้วนี่ตูมานั่งทำเบื้อกอะไรที่นี่อยู่ตั้งเป็นปีๆฟะ"
12 Comments:
เฮ้ย ที่มึงไปนั่งที่นั่นเป็นปีปี ก็เพื่อจะได้รู้ไงว่า ทำแค่นั้นมันยังไม่เวิรค
ก็ถือเป็นการทดลองวิธีการทำงานของตัวมึงเองอย่างนึงไงมาร์ค
สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ
ในทางกลับกัน ถ้าพี่ม้ากไม่ได้ไป พี่ม้ากก็อาจจะไม่ได้บทสรุปอย่างงี้ก็ได้นิคะ
ปอว่าบางครั้ง Idealism กับ Realism ก็ต่างกันนิดเดียวค่ะ
ฟังแล้วเหมือนความพยายามของเอดิสันตอนประดิษฐ์หลอดไฟเลย
ถูก...มันไม่ได้เสียเปล่า มันคือขั้นตอนตะหาก
ไปอยู่ที่นั่นเป็นปีๆ เพื่ออะไร?
คำตอบก็อยู่ในข้อเขียนของคุณม้ากนั่นล่ะค่ะ @^__^@
-__-" ความเห็นข้างบนนั้นของเป้เองค่ะ
แต่ใส่แล้วชื่อมันไม่ขึ้นอ่ะ T___T'
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ? โคตรมาร์คเลย
กูอยู่ที่นี่เป็นปียังไม่รู้เลยว่าจะออกหัวหรือก้อย
กูเอง
well, hope you took it well :) and get through ja ..mink
Best wishes na. :-)
Post a Comment
<< Home