Tuesday, July 26, 2005

สังคมความรู้แบบพี่น้องตระกูลกริมมส์

นิทานเด็กที่โด่งดังทั่วโลกของพี่น้องตระกูลกริมมส์ (Brother Grimms) คิดว่าหลายคนคงเคยได้ยินหรือรู้จักผ่านหูมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ซินเดอเรลล่า หนูน้อยหมวกแดง สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด หรือ Hansel and Gretel

เอาเข้าจริงๆแล้วอีตาพี่น้องสองคนนี่แกไม่ได้แต่งนิทานเลยซักเล่มนะครับ ผมมารู้ทีหลังตอนไปพิพิธภัณฑ์พี่น้องตระกูลกริมมส์ในเมืองที่ผมอยู่เนี่ยแหละ แถมคนญี่ปุ่นแห่มาเที่ยว จนขนาดต้องพิมพ์โบรชัวร์เป็นภาญี่ปุ่นเลยทีเดียว สิ่งที่แกสองคนทำคือแกเดินทางรวบรวมเรื่องเล่าพื้นบ้านที่ไม่ได้มีการบันทึกให้เป็นเรื่องเป็นราว จนมาเป็นเรื่องราวซะ หรือพูดง่ายๆ คือแกเป็นบรรณาธิการนั่นเอง ไม่ได้แต่งนิทานอะไรนั่นหรอกครับ
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแกเป็นหนึ่งในคนสถาปนาความรู้ว่าด้วยเรื่องนิทานเด็กขึ้นมาเหมือนกัน (การรวมรวมความรู้ที่มีอยู่แล้วถือเป็นการสร้างองค์ความรู้แบบหนึ่ง) อันที่จริงผมก็ไม่ได้รังเกียจการสร้างความรู้แบบนี้หรอกนะครับ เพราะความรู้หลายๆ อย่างในโลกก็ได้มาด้วยวิธีนี้ทั้งนั้น เช่น (จากการที่ได้คุยกับเพื่อนชาวโคลัมเบีย)ตำราพฤกษศาสตร์พื้นเมืองในโคลัมเบีย ก็ได้จากการไปถามเอาความรู้เรื่องพืช สมุนไพร จากคนเผ่าต่างๆ จนรวบรวมเป็นองค์ความรู้ชุดหนึ่ง

หนำซ้ำผมก็เห็นว่าดีเสียอีกที่มีคนอย่างพี่น้องตระกูลกริมมส์ เพราะถ้าไม่มีแกแล้วเด็กๆ คงไม่มีนิทานดีๆ อ่านกันอย่างกว้างขวางทุกวันนี้ ก็คงเป็นเรื่องเล่ากันแคบๆ ต่อไปเฉพาะถิ่นเท่านั้น แต่ที่ผมคิดก็คือว่า แหม!! มันช่างเหมือนกันกับเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญาเสียนี่กระไร

ในสังคมสมัยพี่น้องตระกูลกริมมส์ที่ยังไม่มีเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญา เรื่องแบบนี้เป็นการสร้างความรู้ให้เป็นระบบหรืออย่างน้อยก็เป็นการจัดเรียงข้อมูลให้เป็นระบบ ผมหมายถึงความรู้มันมีอยู่แล้ว การจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพย่อมทำให้ความรู้กระจายในวงกว้าง และก็เกิดประโยชน์ให้คนอื่นเอาไปใช้พัฒนาชีวิตได้อย่างเต็มคนบ้าง

ในทางกลับกัน ด้วยวิธิคิดอย่างเดียวกัน แต่เปลี่ยนเป็นเงื่อนไขปัจจุบัน เรื่องมันก็เป็นอย่างที่รู้กันว่าทุกวันนี้ถ้าเราปลูกข้าวหอมมะลิอยู่ดีๆ สักวันหนึ่งคงมีคนมาฟ้องร้องเราได้ ฐานละเมิดลิขสิทธิ์พันธุ์ข้าว ทั้งๆที่ความรู้เรื่องพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมันก็มีอยู่แล้ว ปู่ย่าตายายก็ปลูกมาตั้งนาน แต่อย่างว่าและครับ ดันไม่สถาปนาความรู้ให้เป็นของตัว เลยโดนคนอื่นฉกเอาไปซะ กลายเป็นเรื่องใครมาก่อนมีสิทธิ์ก่อนไปเสียนี่ สมัยที่โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา อเมริกาก็เป็นทรัพยากรของอังกฤษเหมือนกัน ด้วยวิธีคิดเดียวกันคือถึงก่อนมีสิทธิ์ก่อน

ความรู้ก็คือสินค้าครับ หรืออย่างน้อยก็ถูกทำให้เป็นสินค้าซะแล้ว เหมือนกับวัฒนธรรม (เพลง ตลาดน้ำ มวยไทย ฯลฯ)ขณะเดียวกันความรู้ก็คือทรัพยากรด้วย ผมทึกทักเอาเองว่า ถ้าเราเปรียบการพัฒนาเหมือนการวิ่ง โดยมีความรู้เป็นปลายทางแล้ว คนที่ถึงก่อนเนี่ยถ้าวิ่งแข่งกันใหม่มันก็ถึงก่อนทุกเรื่อง เพราะผมทึกทักเอาเองว่ามันเหมือนตอนแรกเราวิ่งแข่งไปเอาจักรยาน แล้วถ้าผมแพ้แล้วให้วิ่งแข่งใหม่ไปเอารถยนต์ คิดว่าหมอนั่นมันจะยอมทิ้งจักรยานมาวิ่งตัวเปล่าๆ กับผมเหรอ มันก็ต้องขี่จักรยานไปเอาอยู่แล้ว ส่วนผมก็วิ่งลิ้นห้อยไปเถอะ ความรู้มันก็เหมือนจักรยานแหละครับ แล้วโอกาสที่ผมจะได้จักรยานนั้นมีได้ก็ต่อเมื่อ หมอนั่นมันโดดไปขี่รถเก๋งเสียแล้ว

ผมสงสัยแค่ว่าถ้าผมอยากเป็นคนที่เต็มคนบ้าง แล้วเกิดขาสั้นวิ่งไม่ทันเขา ผมจะยังพอจะยังหวังได้ว่าพอมีสังคมความรู้แบบพี่น้องตระกูลกริมมส์หลงเหลืออยู่มั้ย ในขณะที่สังคมวันนี่นั้นความรู้เป็นทรัพยากร ถ้าความรู้เป็นทรัพยากรก็แปลว่า ไม่ใช่ทุกคนนะครับจะเข้าถึงได้

สุดท้ายก็ได้แต่พูดกับตัวเองว่า "เออ ฝันไปเหอะมึง"

7 Comments:

At July 26, 2005 10:38 AM, Anonymous Anonymous said...

ที่1
ยังไม่ได้อ่านนะ ลงชื่อจองไว้ก่อน ง่วงอะพี่ม๊าก ง่วงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 
At July 26, 2005 10:39 AM, Anonymous Anonymous said...

ที่1
ยังไม่ได้อ่านนะ ลงชื่อจองไว้ก่อน ง่วงอะพี่ม๊าก ง่วงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 
At July 26, 2005 5:26 PM, Anonymous Anonymous said...

แน่นอนค่ะ ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าถึงความรู้ได้
และคนที่เข้าถึงความรู้ คือ คนที่มี "อำนาจ " นั่นเอง

เริ่มจากนิทานกริมมส์ แต่จบลงด้วยการเข้าถึงความรู้
เปิดประเด็นไว้เยอะเชียวค่ะ
ไว้ว่างมากกว่านี้ จะเข้ามาถกยาวๆ

อ้อ ได้ความรู้ใหม่ว่า อีตาพี่น้องกริมส์นี่เป็นบรรณาธิการ

ดิฉันสงสัยว่า อะไร ที่ทำให้นิทานกริมมส์ โด่งดังไปทั่วโลก
เขาสถาปนาความรู้กันแบบไหน จัดการกับความรู้กันอย่างไร ถึงทำให้ลูกเด็กเล็กแดง รู้จักกันไปทั่ว
เด็กบ้านนอกอย่างดิฉัน ยังรู้จักชื่อเขา
ในขณะที่นิทานพิ้นบ้านของไทยเราเองบางชิ้น
ยังนึกไม่ค่อยออกเลย
บอกอกริมมส์ นี่แกมีดีอะไรหนอ

 
At July 26, 2005 9:44 PM, Anonymous Anonymous said...

ใจจริงอยากค้านเรื่องที่เอา metaphor เรื่อง วิ่งแข่ง/จักรยาน/รถยนต์ มาเทียบกับ ความรู้ น่ะ

แต่พอคิดคิดดูอีกที แล้วมองสภาพรอบตัวที่มันเป็นจริงๆ ก็เห็นด้วยว่ะ


น่าแปลกว่ะ เพราะจริงๆมันไม่ไช่อ่ะ ตามความเห็นกู "ความรู้" มันไม่ไช่เรื่องแบบ linear อ่ะ ไม่จำเป็นต้องมีอันนี้ก่อนแล้วถึงไปทางนั้น แล้วจึงจะได้อันโน้น (มึงใช้เวลาสองชั่วโมง ทำBlogนี้ โดยที่มึงไม่ต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก มึงแค่ต้องรู้ว่า อะไรที่มึงควรรู้ในการจะทำอะไรที่มึงจะทำไม่ไช่เหรอ นั่นคือจุดที่กูว่า เราไม่สามารถใช้ความคิดเรื่อง วิ่งไปเอาจักรยานได้เท่าไหร่นัก)

แต่ทำไมพอเอาเข้าจริง ก็ยอมรับว่ะว่า คนที่ไม่มีโอกาสแม้แต่จะเริ่มคิดอะไรเลยจริงๆ ว่าตัวเองไม่รู้อะไร มีอีกเยอะมากมาก

(คือใจจริงกูอยากยกตัวอย่าง ญี่ปุ่น จีน อินเดีย อ่ะน่ะ แต่ มันก็ไม่ได้ทำให้เมืองไทยเราดีขึ้นอยู่ดี)



ส่วนเรื่องเฮียกริมมส์ทั้งสอง ได้ข่าวว่า แกบิดเบือนเรื่องเล่าสุดๆเหมือนกันน่ะ คือ ประมาณถ้ามาเกิดสมัยนี้ แกสองคนก็คงไปเปิดบริษัทโฆษณารวยไปแล้วอ่ะ

 
At July 27, 2005 1:32 AM, Blogger Nattawut said...

กูก็ว่าตัวอย่างเรื่องจักรยานมันไม่ดีนักหรอก

กูเห็นด้วยว่าความรู้ไม่เป็นเส้นตรงนะ แต่กูแทนความหมายความรู้ไว้แคบกว่ามึง (หมายถึงในบริบทนี้)
กูว่าความรู้ในการทำบลอกกูคือจักรยานนี้แหละ มันเป็นความรู้ที่ต้องมีต้นทุนนะ กว่าจะเขียนได้กูต้อง อ่านหนังสือออก เปิดคอมเป็น หรือเข้าถึงทรัพยากรอินเตอร์เนตได้เหมือนกัน เหมือนในสมัยก่อนที่ความรู้ให้อ่านออกเขียนได้จำกัดแต่ในรั้วในวัง

ประวัติศาสตร์มันซ้ำรอยเดิม อยู่อย่างงี้แหละ แค่เปลี่ยนหน้าคนแสดงเอง

 
At July 27, 2005 3:03 AM, Blogger Nattawut said...

ขอบคุณพี่แป้ดที่แวะมาเยี่ยม comment ด้วยครับ

 
At July 27, 2005 9:58 AM, Blogger Pretty Ribbon said...

ได้รับความนิยมดีนะ ฉันอ่านได้ แต่ขอสารภาพว่า ไม่ค่อย get เท่าไหร่ อุ๊ย!โง่นี่ แต่จะพยายามอ่านต่อไป สู้เขาพี่มาก น้องนาก เอาใจช่วย

 

Post a Comment

<< Home