Wednesday, July 27, 2005

Field trip with AA

ผมควรสังวรณ์ว่าถ้าขืนผมเล่าเรื่องด้วยสปีดขนาดนี้ ผมคงมีแรงเขียนไม่นาน ต้องเลิกไปก่อนเวลาอันควร ผมจะลดความถี่ลงนะครับ พอดีช่วงนี้มันว่างๆ

เมื่อต้นปีผมได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาทางสถาปัตยกรรมกับ The Architectural Association (AA) หนึ่งในโรงเรียนสถาปัตยกรรมชื่อดังของโลก โดยคำเชิญชวนของน้องแป้ง (นามสมมติ) ที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้ ผมก็ขอขอบคุณน้องแป้งไว้ ณ ที่นี้เลย เพราะถ้า AA ไม่จัดทัศนศึกษาในเยอรมันผมคงไม่ได้มีโอกาสเปิดหูเปิดตา แต่เสียดายที่ผมมีเวลาน้อย จึงได้ร่วมทัศนศึกษาด้วยเพียงเมืองเดียวเท่านั้นคือ ที่ Stuttgart

แต่แค่นี้ก็เพียงพอแล้วเพราะเป็นที่ที่ตรงกับความสนใจผมอยู่แล้ว โดยผมมีความประทับใจอยู่สองอย่าง ภายหลังจากการทัศนศึกษาครั้งนี้ อย่างแรกก็คือ ผมได้มีโอกาสชมงานต้นแบบของ Frei Otto พ่อมดแห่ง Tensile Structure ที่ใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบสนามฟุตบอล Olympic stadium (แต่คนออกแบบอาคารหลังนี้คือ Gunter Behnisch หนึ่งในเจ้าพ่อ Deconstruction)ที่เมืองมิวนิก โดย Otto ได้สร้างอาคารขนาดเล็ก (จริงๆ ก็ไม่เล็กนะ) ในมหาวิทยาลัย Stutgart เพื่อศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้างของ Cable ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเปลี่ยนจุดรับแรงในรูปแบบต่างๆ อาคารต้นแบบของ Otto ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำงานของศาสตรจารย์ Soebeck (คือจริงๆ trip นี้จะมาดูงานตาคนนี้แหละแต่ผมพบว่างานที่ทำงานแกน่าสนใจกว่า) สิ่งที่น่าทึ่งคือ อาคารหลังนี้พาดช่วงกว้างกว่า 20 เมตร โดยใช้เสาเพียงต้นเดียว (แบบกระโจมน่ะครับ) และผมก็คิดในใจเมื่อเข้าไปภายในอาคารว่า "โห แม่งโคตรเดิ้นเลยว่ะ" ทั้งๆ ที่มันก็สร้างเสร็จมาแล้วตั้ง 30 ปี

ผมควรบอกไว้เป็นเกร็ดความรู้ว่า มหาวิทยาลัย Stuttgart จัดเป็นโรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นแนวหน้าของเยอรมันทางสถาปัตยกรรมสาย Avant-garde, Postmodern, Deconstructivist ซึ่งเป็นคู่กัดกับ TUM (Technical University of Munich) อีกหนึ่งในโรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นแนวหน้าที่สืบทอดปณิธานจาก Bauhaus มาอย่างเหนียวแน่น อันนี้นอกเรื่องนะครับ เล่าสู่กันฟัง

ความประทับใจอย่างที่สอง แบบประทับใจสุดๆ คือผมได้เห็น "Weissenhofsiedlung" กะตาตัวเอง ใครที่ไม่ทราบว่า มันคืออะไรเดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ

ผมเองรู้จัก Weissenhofsiedlung มาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือแล้ว อาจเพราะผมชอบอ่านงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเป็นพิเศษ เลยจำได้ว่ามันอยู่ในเยอรมัน และเป็นนิทรรศการการแสดงนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรมที่ลือลั่นที่สุดในสมัยนั้น ถือเป็นรากฐานทั้งปวงของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเลยก็ว่าได้ เพราะหลายคนของผู้แสดงงานก็สอนอยู่ใน Bauhaus

Weissenhofsiedlung คือกลุ่มอาคารพักอาศัยสมัยโมเดิร์นสร้างราวทศวรรษที่ 30 ที่นำโดยสถาปนิกชื่อดัง Ludwig Mies van de Rohe ที่ต้องการสร้างกลุ่มอาคารพักอาศัยเพื่อประกาศการเข้าสู่ยุคโมเดิร์นทางสถาปัตยกรรม ที่เสาอาคารกับผนังไม่ต้องเดินคู่กันอีกแล้ว อีกทั้งเป็นการปฏิวัติความหมายของที่ว่างครั้งสำคัญ โดยงานนี้ Mies ได้เชิญสถาปนิกหัวก้าวหน้าจากทั่วยุโรปในสมัยนั้นมาร่วมออกแบบ ได้แก่ Le Corbusier (Charles A. Jeaneret), Peter Behrens, Walter Gropius, Hans Scharoun, ฯลฯ โดยในช่วงแรกจะจัดเป็นนิทรรศการให้คนดูด้วย เหมือนหนึ่งสะท้อนนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม และภายหลังก็ขายให้คนได้เข้ามาอยู่จริง (ผมเพิ่งมาเห็น concept "House is a machine of living" ของ Corbu กับตานี่เอง)

แต่ปัจจุบันอาคารที่ออกแบบโดยสถาปนิกเยอรมัน ทั้งหมดถูกฮิตเลอร์รื้อทิ้งไปแล้ว เพราะรับไม่ได้กับอาคารที่ไม่มีหลังคาและไม่มีวัฒนธรรม (จากเหตุผลที่ฮิตเลอร์อ้าง)ถึงขนาดฮิตเลอร์จงเกลียดจงชังแนวความคิดนอกคอกแบบนี้มาก ถึงขนาดสั่งปิด Bauhaus จนเจ้าสำนักทั้งหลายต้องหนีไปอยู่สหรัฐอเมริกา (แต่ Mies van de Rohe ก็มาโด่งดังที่ IIT ภายหลัง) ปัจจุบัน Weissenhofsiedlung คงเหลือแต่งานของสถาปนิกต่างชาติ (โชคดียังเหลืองานของ Corbu)งานของสถาปนิกเยอรมันที่เหลือก็มีเพียงงานของ Mies van de Rohe หลังเดียวเท่านั้น

ทุกวันนี้ใน Weissenhofsiedlung ก็ยังมีคนอาศัยอยู่นะครับ แต่ก็มีการต่อเติมปรับเปลี่ยนการใช้งานไปบ้าง ข้างในอาคารหลายหลังก็ไม่ได้เหมือนกันตอนแรกที่สถาปนิกออกแบบไว้เท่าไหร่แล้ว

แต่สำหรับคอสถาปัตยกรรมโมเดิร์นแบบผมแล้ว พูดได้คำเดียวว่า "สุดยอดเลยครับพี่"


อันนี้ภาพถ่ายภายนอกต้นแบบของ Frei Otto ครับ


อันนี้ภายใน มีเสาต้นนี้ต้นเดียวแหละครับ


อีกรูป ข้างในกว้างมาก
อ่อ ลืมบอกว่า สมัยก่อนไม่มีคอมฯ ช่วยคำนวณเลยต้องสร้างต้นแบบ 1:1 น่ะครับ


เทียบกับ Olympic stadium ของจริง ที่ Behnisch ออกแบบ


อีกรูป มุมจากทางเข้าตัวกระโจม


Weissenhofsiedlung
หลังนี้ของ Mies เจ้าของวลีอมตะ "Less is More" สมัยยังไม่แปลงร่างเป็นกล่องกระจก
สำหรับผมชั่วโมงนี้ ต้องขอบอกว่า "เชยระเบิดเลยพี่ เหมือนแฟลตเคหะที่บ้านผมเลย" (แต่ประทับใจอยู่ดี) อย่างว่าครับ ต้นแบบของอาคารสมัยใหม่บ้านเรานี่เอง

งานของ Peter Behrens(เข้ารอบมาเพราะคนอื่นถอนตัว)คอนเซปต์ดีครับ แต่สังเกตหน้าต่าง ยังเป็นบล็อกๆ แบบ tradition อยู่เลย (ผมว่าดูแล้วก็เชยเหมือนกัน)คนอื่นเค้าทำ Ribbon window กันแล้ว

นี่สุดยอด ต้องอันนี้ครับ ของ Le Corbusier "House is a machine of living" ตัวจริง เอาแนวคิดมาจากตู้รถไฟ แถมด้วย Ribbon window อาคารเป็นเรื่อง System of Circulation and Space ล้วนๆ (แต่ไม่รู้ต้นแบบสีนี้หรือเปล่านะ)

3 Comments:

At July 27, 2005 7:58 AM, Blogger Nattawut said...

เอ๋ said...
อ.ม๊าก มึงเล่าซะจนอ่านแล้วน้ำลายไหล กูก็อยากจะเห็นมั่งอ่ะ แต่ทำไมไม่มีรูปล่ะ(โว้ย) โดยเฉพาะอันนี้ "โห แม่งโคตรเดิ้นเลยว่ะ" (^____ ^ )อยากเห็นมั่งว่ะ (ถ้ามี)

ปล ขออนุญาตเอาความเห็นมาลงใหม่

 
At July 27, 2005 8:42 AM, Anonymous Anonymous said...

พี่ม้ากถือเป็นบุคลากรดีเด่นด้านการใช้ชีวิตของคนไทยในต่างแดนจิงๆฮ่ะ

ข้าน้อยขอคารวะ1จอก

 
At July 27, 2005 8:58 AM, Blogger vok89 said...

โหย
ทำไมมึงได้เที่ยวเยอะอย่างงี้ว่ะ

ทีส่งรูปมาให้กูดู ส่งแต่รูปผู้หญิง กับ สตอเบอรี่

อิจฉาว่ะ

 

Post a Comment

<< Home