จากกรมป่าไม้สู่ ททท.
ผมเพิ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์ และได้ทราบข่าวว่าพื้นที่อุทยานดงพญาเย็น-เขาใหญ่-ทับลาน-ปางสีดา ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ถึงแม้จะเข้าเกณฑ์เพียงข้อเดียวก็ตามที จวบจนวันนี้เราก็มีมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมรวม 5 แห่งพอดิบพอดี
ผมแอบดีใจเล็กๆ ที่เขาใหญ่เป็นมรดกโลก ด้วยเหตุผลแรกคือเพราะผมได้มีโอกาสคุ้นเคยทำงานที่นั่นช่วงระยะเวลาหนึ่งกับเพื่อนผมหลายๆคน (ซึ่งเชื่อว่าเดี๋ยวคงมีโอกาสมาเยี่ยมในเวบล็อก) ถึงแม้จะไม่ได้มีผลงงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่นัก แต่ก็ได้เห็นความพิเศษของผืนป่าแห่งนี้ จากคำบอกเล่า ของอดีตพรานบ้าง เจ้าหน้าที่ป่าไม้บ้าง เพื่อนผมเองหลายๆ คนบ้าง และก็ได้รับความรู้มากมายทางพฤกษศาสตร์ที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยรู้มาก่อน อีกเหตุผลหนึ่งคือหวังว่าจะเกิดความตื่นตัวในการอนุรักษ์ขึ้นอีกครั้ง (เฮือก)
หนึ่งในความรู้ที่ผมทราบนั้น ก็คือแต่ก่อนนั้นกรมป่าไม้ไม่ได้มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างในปัจจุบัน แต่เป็นหน่วยงานที่ตั้งมาเพื่อตัดไม้ขาย คือ กรมป่าไม้ไม่ได้ตัดเอง แต่ให้สัมปทานพื้นที่ป่าแก่เอกชนโดยตัวเองมีหน้าที่จัดสรรพื้นที่และเก็บค่าสัมปทาน จนกระทั่งป่าไม้และสัตว์ป่าของไทยร่อยหรอลง จนไม่ให้มีการสัมปทานอีกแล้วในปัจจุบัน
อันที่จริงการขายทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหรอกครับ ที่ไหนก็ทำแบบนี้ทั้งนั้น อย่างประเทศในตะวันออกกลางก็ขายน้ำมันจนร่ำรวย ในขณะที่ประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรมากนักก็ขายทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใกล้ไม่ไกลก็สิงคโปร์ ใกล้ๆ บ้านเรานี่เอง เพราะทรัพย์สินส่วนเกิน (surplus)ที่ทำให้คนเรามั่งคั่งขึ้นมาได้ เอามาได้สองทางนี้ จากธรรมชาติก็เช่น การเกษตร ขุดแร่ การประมง ฯลฯ ส่วนที่เอามาจากมนุษย์ด้วยกัน ก็ได้แก่ การค้าขาย หมายถึงคือถ้าเรา ขายของ 100 บาท เมื่อในราคาต้นทุนของมันอยู่ที่ 50 บาท ส่วนต่าง 50 บาทนี้ เราเอามาจากส่วนเกินแรงงานของผู้ซื้อ ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ
และเมื่อทรัพยากรอันหนึ่งหมดลงก็หาทรัพยากรอื่นมาขาย เหมือนที่แบบเรียนวิชาภูมิศาสตร์ครั้งหนึ่งบอกว่าภาคใต้ของเราอุดมไปด้วย ดีบุก แต่ปัจจุบันนี้ก็ได้ถูกทดแทนโดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
วันนี้เราไม่มีกรมป่าไม้ในภาพนั้นแล้ว แต่ผมไม่รู้ว่าใครจะรู้สึกเหมือนผมหรือไม่ว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) นั้นทำหน้าที่เหมือนอดีตกรมป่าไม้ คือ ยังคงวนเวียนขายทรัพยากร ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม จะดีกว่าอดีตกรมป่าไม้ตรงที่รายได้เกิดขึ้นโดยตรงต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น ถึงแม้ว่าเกือบทั้งหมดจะอยู่ในมือนายทุนกลุ่มหนึ่งก็เหอะ แต่ก็ยังจ้างแรงงานท้องถิ่นบ้าง (แต่การสัมปทานป่าในอดีตก็จ้างนะ พวกควาญช้างอะไรอย่างงี้ เป็นต้น)
และผมก็คิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบซ้ายตกขอบ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ตระหนกว่านี่มันผ่านมาจะ 50 ปีแล้ว (นับตั้งแต่เริ่มใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับแรก) จนวันนี้เราก็ยังคงเดินหน้าขายทรัพยากรธรรมชาติต่อไป ประหนึ่งว่ามันไม่มีวันหมด ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวจะไม่ได้ก่อให้เกิดความบอบช้ำอย่างชัดเจนต่อทรัพยากรธรรมชาติเหมือนการทำป่าไม้ และได้มีการรณรงค์อนุรักษ์ออกมาต่อเนื่อง แต่ผมก็ไม่ได้เชื่อน้ำยา ททท. มากเท่าไรนัก ตราบเท่าที่ ททท. ยังมีเป้าว่าต้องดึงดูดนักท่องเที่ยวเท่านั้นเท่านี้ มันก็ต้องขยายการลงทุนแหงๆ (และไม่แปลกที่จะมีการบุกรุกพื้นที่ป่าทำรีสอร์ต)
ได้แต่หวังว่า ททท. คงไม่ขายทรัพยากรเหล่านี้จนแห้งกรัง เพราะผมเองคงไม่ได้อยากได้มรดกโลกแห่งใหม่อีกแล้วด้วยเหตุผลที่ว่า "มันเหลือน้อยลงไปทุกวันจนเราต้องเก็บไว้ให้ลูกหลานดู" ซ้ำร้ายผมเองก็ยังไม่เห็นคนท้องถิ่นจะร่ำรวยขึ้นตรงไหน ผมก็ยังรู้สึกว่าพวกเขาก็ยังเหมือนควาญช้างครั้งเมื่อมีกรมป่าไม้แบบในอดีตอยู่เช่นเดิม
จะรีดเอาจากธรรมชาติหรือคนด้วยกันก็เอาเหอะครับ ไม่ว่าจะใช้นิทานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ก็แล้วแต่ แต่เปลี่ยนปกไปก็ไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่ เพราะเรื่องนี้เค้าเล่าซ้ำๆ กันจนเก่าแล้วแหละ
ผมแอบดีใจเล็กๆ ที่เขาใหญ่เป็นมรดกโลก ด้วยเหตุผลแรกคือเพราะผมได้มีโอกาสคุ้นเคยทำงานที่นั่นช่วงระยะเวลาหนึ่งกับเพื่อนผมหลายๆคน (ซึ่งเชื่อว่าเดี๋ยวคงมีโอกาสมาเยี่ยมในเวบล็อก) ถึงแม้จะไม่ได้มีผลงงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่นัก แต่ก็ได้เห็นความพิเศษของผืนป่าแห่งนี้ จากคำบอกเล่า ของอดีตพรานบ้าง เจ้าหน้าที่ป่าไม้บ้าง เพื่อนผมเองหลายๆ คนบ้าง และก็ได้รับความรู้มากมายทางพฤกษศาสตร์ที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยรู้มาก่อน อีกเหตุผลหนึ่งคือหวังว่าจะเกิดความตื่นตัวในการอนุรักษ์ขึ้นอีกครั้ง (เฮือก)
หนึ่งในความรู้ที่ผมทราบนั้น ก็คือแต่ก่อนนั้นกรมป่าไม้ไม่ได้มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างในปัจจุบัน แต่เป็นหน่วยงานที่ตั้งมาเพื่อตัดไม้ขาย คือ กรมป่าไม้ไม่ได้ตัดเอง แต่ให้สัมปทานพื้นที่ป่าแก่เอกชนโดยตัวเองมีหน้าที่จัดสรรพื้นที่และเก็บค่าสัมปทาน จนกระทั่งป่าไม้และสัตว์ป่าของไทยร่อยหรอลง จนไม่ให้มีการสัมปทานอีกแล้วในปัจจุบัน
อันที่จริงการขายทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหรอกครับ ที่ไหนก็ทำแบบนี้ทั้งนั้น อย่างประเทศในตะวันออกกลางก็ขายน้ำมันจนร่ำรวย ในขณะที่ประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรมากนักก็ขายทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใกล้ไม่ไกลก็สิงคโปร์ ใกล้ๆ บ้านเรานี่เอง เพราะทรัพย์สินส่วนเกิน (surplus)ที่ทำให้คนเรามั่งคั่งขึ้นมาได้ เอามาได้สองทางนี้ จากธรรมชาติก็เช่น การเกษตร ขุดแร่ การประมง ฯลฯ ส่วนที่เอามาจากมนุษย์ด้วยกัน ก็ได้แก่ การค้าขาย หมายถึงคือถ้าเรา ขายของ 100 บาท เมื่อในราคาต้นทุนของมันอยู่ที่ 50 บาท ส่วนต่าง 50 บาทนี้ เราเอามาจากส่วนเกินแรงงานของผู้ซื้อ ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ
และเมื่อทรัพยากรอันหนึ่งหมดลงก็หาทรัพยากรอื่นมาขาย เหมือนที่แบบเรียนวิชาภูมิศาสตร์ครั้งหนึ่งบอกว่าภาคใต้ของเราอุดมไปด้วย ดีบุก แต่ปัจจุบันนี้ก็ได้ถูกทดแทนโดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
วันนี้เราไม่มีกรมป่าไม้ในภาพนั้นแล้ว แต่ผมไม่รู้ว่าใครจะรู้สึกเหมือนผมหรือไม่ว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) นั้นทำหน้าที่เหมือนอดีตกรมป่าไม้ คือ ยังคงวนเวียนขายทรัพยากร ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม จะดีกว่าอดีตกรมป่าไม้ตรงที่รายได้เกิดขึ้นโดยตรงต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น ถึงแม้ว่าเกือบทั้งหมดจะอยู่ในมือนายทุนกลุ่มหนึ่งก็เหอะ แต่ก็ยังจ้างแรงงานท้องถิ่นบ้าง (แต่การสัมปทานป่าในอดีตก็จ้างนะ พวกควาญช้างอะไรอย่างงี้ เป็นต้น)
และผมก็คิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบซ้ายตกขอบ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ตระหนกว่านี่มันผ่านมาจะ 50 ปีแล้ว (นับตั้งแต่เริ่มใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับแรก) จนวันนี้เราก็ยังคงเดินหน้าขายทรัพยากรธรรมชาติต่อไป ประหนึ่งว่ามันไม่มีวันหมด ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวจะไม่ได้ก่อให้เกิดความบอบช้ำอย่างชัดเจนต่อทรัพยากรธรรมชาติเหมือนการทำป่าไม้ และได้มีการรณรงค์อนุรักษ์ออกมาต่อเนื่อง แต่ผมก็ไม่ได้เชื่อน้ำยา ททท. มากเท่าไรนัก ตราบเท่าที่ ททท. ยังมีเป้าว่าต้องดึงดูดนักท่องเที่ยวเท่านั้นเท่านี้ มันก็ต้องขยายการลงทุนแหงๆ (และไม่แปลกที่จะมีการบุกรุกพื้นที่ป่าทำรีสอร์ต)
ได้แต่หวังว่า ททท. คงไม่ขายทรัพยากรเหล่านี้จนแห้งกรัง เพราะผมเองคงไม่ได้อยากได้มรดกโลกแห่งใหม่อีกแล้วด้วยเหตุผลที่ว่า "มันเหลือน้อยลงไปทุกวันจนเราต้องเก็บไว้ให้ลูกหลานดู" ซ้ำร้ายผมเองก็ยังไม่เห็นคนท้องถิ่นจะร่ำรวยขึ้นตรงไหน ผมก็ยังรู้สึกว่าพวกเขาก็ยังเหมือนควาญช้างครั้งเมื่อมีกรมป่าไม้แบบในอดีตอยู่เช่นเดิม
จะรีดเอาจากธรรมชาติหรือคนด้วยกันก็เอาเหอะครับ ไม่ว่าจะใช้นิทานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ก็แล้วแต่ แต่เปลี่ยนปกไปก็ไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่ เพราะเรื่องนี้เค้าเล่าซ้ำๆ กันจนเก่าแล้วแหละ
2 Comments:
ที่1...
ง่วงมาก เดี๋ยววันพรุ่งนี้มาเม้นท์นะคะ
เม้นท์
กูดม่อนิ่งค่ะ...
Post a Comment
<< Home