white plastic chair
เพื่อนชาวเยอรมันคนนหนึ่งเพิ่งให้ CD เพลงภาษาเยอรมันแก่ผมเป็นของที่ระลึกก่อนเดินทางกลับเมืองไทย เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงตอนเมื่อปีที่แล้วก่อนมาที่นี่ เพื่อนชาวไทย คือ เจและกอล์ฟ (นามสมมติ) ก็ได้ให้ CD เพลงผลงานของตัวเองแก่ผมมาคนละแผ่น (Small room 004 กับ Super baker) ผมคงต้องสารภาพว่าไม่ค่อยได้หยิบมาฟังเท่าไหร่
เมื่อตอนอยู่เมืองไทย ผมมีวงเหล้าประจำ (ไม่ได้หมายความว่ากินประจำนะ แต่ส่วนมากจะมาลงวงนี้ทุกที) เป็นโต๊ะ เก้าอี้พลาสติกสีขาวอยู่หน้าออฟฟิศสมอลล์รูม เหตุที่เป็นที่นี่เพราะสาเหตุหนึ่งก็ด้วยความใกล้บ้านของสมาชิก และถ้ามาที่นี่อย่างไรคงหาเพื่อนนั่งกินเบียร์ได้ แต่ที่ผมชอบอย่างหนึ่งก็คือการมานั่งคุยกัน เสน่ห์อย่างหนึ่งของวงสนทนาหน้าสมอลล์รูมคือมีคนที่สนใจเรื่องไม่เหมือนกันมานั่งคุยกัน โดยแต่ละคนก็ชอบที่จะสนใจเรื่องคนอื่น ทำให้เกิดการต่อยอดความคิดออกไปได้บ้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นแบบงูๆ ปลาๆ ก็ตาม เพราะด้วยเนื่องจากความรู้มากมายที่หาไม่ได้ในตำรา และความคิดดีๆ มักเกิดจากวงสนทนาแบบไม่เป็นทางการเสมอๆ โดยประเด็นที่คุยกันบ่อยๆ ประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องดนตรี ส่วนตัวผมเองนั้นไม่มีความรู้เรื่องดนตรีก็ได้อาศัยหาความรู้ตามวงผู้รู้ ซึ่งอย่างน้อยๆ เผื่อว่ารสนิยมการฟังดนตรีของผมจะดีขึ้นบ้าง
ผมจำได้ว่าเคยถามเจไว้ครั้งหนึ่งว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าดนตรี Bossanova เป็นยังไง เพราะผมแยกไม่ออก ความตั้งใจของผมคืออยากรู้ เกณฑ์หรือองค์ประกอบที่ดนตรีชนิดนั้นๆ ต้องมี เช่นในดนตรีอะคูสติกคงต้องมีเสียงกีตาร์โปร่ง เป็นต้น (ผมเดาเอานะ) เหมือนกับการแบ่งประเภทงานในศิลปะ เช่น Realism, Abstract, Expressionism ฯลฯ ที่ต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานบางอย่างเพื่อบ่งบอกประเภทของงานแต่ละชนิด แต่ตอนนั้นเจไม่ได้ตอบผมตรงคำถาม เจบอกประมาณว่า “ไอ้ดนตรีอะไรมันไม่สำคัญหรอก มันสำคัญที่ (มึง) ชอบก็พอแล้ว”
ตัวอย่างการตอบไม่ตรงคำถามลักษณะนี้ บางครั้งสร้างประเด็นให้คิดต่อได้อีกมาก เช่นว่า อันที่จริงการแบ่งประเภทนั้นไม่จำเป็นมากนัก คือจำเป็นถ้าจะศึกษา เพราะหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะศึกษาอะไรก็ตามมักเริ่มจากการจัดหมวดเพื่อหากรอบคร่าวๆ ของเรื่องที่จะศึกษา แต่การจัดหมวดก็ทำให้วิธีคิดของเราติดกรอบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมเข้าใจเอาเองว่าคำตอบของเจนั้นก็ได้ให้วิธีการศึกษาดนตรีแบบไม่มองคนตรีเป้นวัตถุศึกษา กล่าวคือ มึงก็ฟังสิ เพราะสุดท้ายเป้าหมายผลลัพธ์มันก็คือชอบหรือไม่ชอบ ก็เท่านั้นเอง
บทสนทนาเล็กๆ เช่นนี้ก็ได้ประเด็นมาต่อยอดที่ผมเอามาใช้ในงานวิจัยได้อีกเป็นกระบุง ว่าด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบต่างๆ ด้วยเหตุนี้ผมถึงชอบไปกินเบียร์ที่หน้าสมอลล์รูม และหวังว่าสมาชิกยังคงแวะเวียนไปเรื่อยๆ พอที่จะทำให้ห้องเรียนแบบไม่เป็นทางการมีประโยชน์ต่อเพื่อนต่างวิชาชีพของผม ตราบเท่าที่แต่ละคนยังไม่มีเมียเสียก่อน เพราะถึงเวลานั้นก็คงต้องตัวใครตัวมันละกันนะครับ
เมื่อตอนอยู่เมืองไทย ผมมีวงเหล้าประจำ (ไม่ได้หมายความว่ากินประจำนะ แต่ส่วนมากจะมาลงวงนี้ทุกที) เป็นโต๊ะ เก้าอี้พลาสติกสีขาวอยู่หน้าออฟฟิศสมอลล์รูม เหตุที่เป็นที่นี่เพราะสาเหตุหนึ่งก็ด้วยความใกล้บ้านของสมาชิก และถ้ามาที่นี่อย่างไรคงหาเพื่อนนั่งกินเบียร์ได้ แต่ที่ผมชอบอย่างหนึ่งก็คือการมานั่งคุยกัน เสน่ห์อย่างหนึ่งของวงสนทนาหน้าสมอลล์รูมคือมีคนที่สนใจเรื่องไม่เหมือนกันมานั่งคุยกัน โดยแต่ละคนก็ชอบที่จะสนใจเรื่องคนอื่น ทำให้เกิดการต่อยอดความคิดออกไปได้บ้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นแบบงูๆ ปลาๆ ก็ตาม เพราะด้วยเนื่องจากความรู้มากมายที่หาไม่ได้ในตำรา และความคิดดีๆ มักเกิดจากวงสนทนาแบบไม่เป็นทางการเสมอๆ โดยประเด็นที่คุยกันบ่อยๆ ประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องดนตรี ส่วนตัวผมเองนั้นไม่มีความรู้เรื่องดนตรีก็ได้อาศัยหาความรู้ตามวงผู้รู้ ซึ่งอย่างน้อยๆ เผื่อว่ารสนิยมการฟังดนตรีของผมจะดีขึ้นบ้าง
ผมจำได้ว่าเคยถามเจไว้ครั้งหนึ่งว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าดนตรี Bossanova เป็นยังไง เพราะผมแยกไม่ออก ความตั้งใจของผมคืออยากรู้ เกณฑ์หรือองค์ประกอบที่ดนตรีชนิดนั้นๆ ต้องมี เช่นในดนตรีอะคูสติกคงต้องมีเสียงกีตาร์โปร่ง เป็นต้น (ผมเดาเอานะ) เหมือนกับการแบ่งประเภทงานในศิลปะ เช่น Realism, Abstract, Expressionism ฯลฯ ที่ต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานบางอย่างเพื่อบ่งบอกประเภทของงานแต่ละชนิด แต่ตอนนั้นเจไม่ได้ตอบผมตรงคำถาม เจบอกประมาณว่า “ไอ้ดนตรีอะไรมันไม่สำคัญหรอก มันสำคัญที่ (มึง) ชอบก็พอแล้ว”
ตัวอย่างการตอบไม่ตรงคำถามลักษณะนี้ บางครั้งสร้างประเด็นให้คิดต่อได้อีกมาก เช่นว่า อันที่จริงการแบ่งประเภทนั้นไม่จำเป็นมากนัก คือจำเป็นถ้าจะศึกษา เพราะหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะศึกษาอะไรก็ตามมักเริ่มจากการจัดหมวดเพื่อหากรอบคร่าวๆ ของเรื่องที่จะศึกษา แต่การจัดหมวดก็ทำให้วิธีคิดของเราติดกรอบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมเข้าใจเอาเองว่าคำตอบของเจนั้นก็ได้ให้วิธีการศึกษาดนตรีแบบไม่มองคนตรีเป้นวัตถุศึกษา กล่าวคือ มึงก็ฟังสิ เพราะสุดท้ายเป้าหมายผลลัพธ์มันก็คือชอบหรือไม่ชอบ ก็เท่านั้นเอง
บทสนทนาเล็กๆ เช่นนี้ก็ได้ประเด็นมาต่อยอดที่ผมเอามาใช้ในงานวิจัยได้อีกเป็นกระบุง ว่าด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบต่างๆ ด้วยเหตุนี้ผมถึงชอบไปกินเบียร์ที่หน้าสมอลล์รูม และหวังว่าสมาชิกยังคงแวะเวียนไปเรื่อยๆ พอที่จะทำให้ห้องเรียนแบบไม่เป็นทางการมีประโยชน์ต่อเพื่อนต่างวิชาชีพของผม ตราบเท่าที่แต่ละคนยังไม่มีเมียเสียก่อน เพราะถึงเวลานั้นก็คงต้องตัวใครตัวมันละกันนะครับ
4 Comments:
ยังงี๊พี่ม้ากก็ต้องจากวงนี้เป็นคนสุดท้ายสินะคะ อิอิ...
เอ่อออ จะกลับแล้วเหรอพี่ม้าก ฝากหวัดดีพี่ถึกด้วย กลับไปคราวที่แล้วไม่ได้เจอ เจอแต่พี่โป้ง
แต่แบบอิจฉาง่ะ อยากกลับบ้านแล้ว ไม่อยากเรียนแล้ว
อืมมม แล้วแบบบอกเพื่อนพี่ด้วยว่านู๋ชอบเพลงเพื่อนพี่มากๆๆ Super Baker เย้ๆ
http://en.wikipedia.org/wiki/Bossa_nova
นี่ละค่ะคนเรา... ชอบจัดสิ่งต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่
แม้แต่ดนตรีก็ยังไม่ละเว้น
เดินทางโดยสวัสดิภาพนะคะ ^^
Post a Comment
<< Home